เฉลยแบบฝึกปฏิบัติที่ 5
Homeผู้จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีพลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาเคมีกลไกของปฏิกิริยาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีกฏอัตราแบบทดสอบหลังเรียน

 

ธรรมชาติของสารตั้งต้น 
ความเข้มข้นของสารตั้งต้น 
พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น 
ตัวเร่งปฏิกิริยา 
ตัวหน่วงปฏิกิริยา 
อุณหภูมิ 
แบบฝึกปฏิบัติที่ 5 
เฉลยแบบฝึกปฏิบัติที่ 5 

 

 anigreen11_next.gifเฉลยแบบฝึกปฏิบัติที่ 5anigreen11_back.gif

 

                1.ปฏิกิริยาระหว่างเหล็กกับแก๊สออกซิเจนเป็นปฏิกิรยิาที่สารตั้งต้นมีสถานะแตกต่างกัน อัตราการเกิดปฏิกิริยาจึงขึ้นกับพื้นที่ผิวสัมผัสของสารตั้งต้น ผงเหล็กมีพื้นที่ผิวสัมผัสมากกว่าตะปูเหล็กที่มีมวลเท่ากัน จึงทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนได้เร็วกว่าตะปูเหล็ก
                    
2.  ตามสมการ
                    
                     ถ้าลดจำนวนโมเลกุลของ  ที่อยู่ในภาชนะเดิมให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนเดิม จะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาอย่างไร จงอธิบาย
                      การลดจำนวนโมเกลุลของแก๊ส  ที่อยู่ในภาชนะเดิมเป็นการลดความเข้มข้นของ  อัตราการเกิดปฏิกิรยิาควรลดลง ถ้าอัตราการเกิดปฏิกิริยานี้ขึ้นกับความเข้มข้นของแก๊ส
                    
 3.เมื่อเผาโลหะ A เป็นการเพิ่มพลังงานจำนวนมากให้กับอนุภาค ของสารตั้งต้น  ทำให้มีจำนวนอนุภาคที่มีพลังงานสูงพอ ที่จะเกิดปฏิกิริยาได้มากขึ้น จึงทำให้ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้เร็วกว่าเมื่อวางโลหะ ไว้ในอากาศซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าฃ
                    
4.วิธีทำให้อัตราการเผาไหม้ของเทียนไขเพิ่มขึ้นอาจทำได้ ดังนี้
                            1. เพิ่มปริมาณออกซิเจน  เพราะการเพิ่มออกซิเจนซึ่งเป็นสารตั้งต้น จะทำให้อัตราการเผาไหม้เพิ่มขึ้น
                            2. เพิ่มขนาดของไส้เทียน  ไส้เทียนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้พลังงานความร้อนเพิ่มขึ้น จึงทำให้เนื้อเทียนหลอมเหลว                                  และเกิดติดไฟได้เร็วขึ้น
                  
5. ผงนิเกิลทำหน้าทีเป็นตัวเร่งปฏิกิรยิา  เพราะเมื่อเติมลงไปแล้ว ทำให้ปฏิกิริยาระหว่างแก๊สไฮโดรเจนกับก๊าชคลอรีนเกิดได้                     เร็วขึ้น แสดงว่าผงนิเกิลช่วยลดพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาให้ต่ำลง
                  
6.โลหะแพลตินัมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และช่วยให้พลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาลดต่ำลง  ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นโดยโมเลกุลของ   และ ถูกดูดซับไว้ที่ผิวของโลหะแพลตินัม แล้วเกิดการสลายของพันธะภายในโมเลกุล   ได้เป็นอะตอมของ O และH   จะเกิดการชนกันโดยมีทิศทางการชนกันที่เหมาะสมแล้วสร้างพันธะต่อกันเกิดเป็นโมเลกุลของ
                
  7.  ก. การลดปริมาตรของภาชนะลงครึ่งหนึ่ง ทำให้ความดันเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จึงทำให้โมเลกุลของแก๊ส ทั้งสองอยู่ใกล้กัน และ ชนกันได้มากขึ้น อัตราการเกิดปฏิกิริยาจึงสูงขึ้น  
                           ข.  เมื่อเพิ่มจำนวนโมเลกุลของแก๊ส NO  เป็นสองเท่า เป็นการเพิ่มความเข้มข้นของ NO  ดังนั้น อัตราการเกิดปกิกิริยาควรจะ เพิ่มขึ้นด้วยถ้าอัตราการเกิดปฏิกิริยานี้ขึ้นกับความเข้มข้นของ NO

              flower_wind_16.gif
                  

 

 


จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม  2548

จัดทำโดย ศน.อรอุมา  บวรศักดิ์
ศึกษานิเทศ ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต 2
Copyright(c) 2004 Mrs.Ornuma  Bowonsak. All right reserved