กฏอัตรา
Homeผู้จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีพลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาเคมีกลไกของปฏิกิริยาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีกฏอัตราแบบทดสอบหลังเรียน

 

แบบฝึกปฏิบัติที่ 6 
เฉลยแบบฝึกปฏิบัติที่ 6 

 

 anigreen11_next.gifกฏอัตราanigreen11_back.gif

 

               กฏอัตรา ( Law of Mass Action)  คือ  อัตราการเกิดปกิกิริยาเคมีจะเป็นสัดส่วยโดยตรงกับ ความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่เกิดปฏิกิริยา   ค้นพบโดย Guldberg  และ Waage  นักเคมีชาวนอร์เวย์  ในปี ค.ศ. 1864   ดังสมการ
                                                      
                   เมื่อสมการแสดงปฏิกิริยาเป็นดังนี้ คือ
                                                      
                   จะได้ว่า                           เรียกสมการนี้ว่า  กฏอัตรา  (Rate  Law)
                   เมื่อ  V =   อัตราการเกิดปฏิกิริยา
                         =  ความเข้มข้นของสาร
                       k     =  Specific  reaction rate constant   คือ ค่าคงที่ของอัตราการเกิดปฏิกิริยาใด ๆ ที่อุณหภูมิหนึ่ง
                  n,m     =   เป็นเลขชี้กำลังของความเข้มข้น  อาจเป็นได้ทั้งจำนวนเต็มบวกหรือลบ หรืออาจเป็นจำนวนเศษส่วนก็ได้ ซึ่ง n และ m นี้จะหาได้จากการทดลอง ในกรณีที่ปฏิกิริยาเกิดขึ้นขั้นตอนเกียว  n และ m  จะมีค่าเท่ากับตัวเลขข้างหน้าของสารตั้งต้นในสมการเคมีที่ดุลแล้ว และในกรณีที่ปฏิกิริยาเกิดขึ้นหลายขั้นตอน  อัตราเร็วของปฏิกิริยารวมจะขึ้นอยู่กับอัตราเร็วของปฏิกิริยาย่อยที่เกิดขึ้นช้าที่สุด
                
สำหรับค่า n และ m  ถ้าค่ามีมากกว่าศูนย์ แสดงว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ A และ B  นั่นคือถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นใด อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะเพิ่มขึ้น และถ้าลดความเข้มข้นของสารตั้งต้นใด อัตราการเกิดปฏิกิริยาก็จะลดลง ค่า n  และ m  หาได้จากการทดลองโดยการเปลี่ยนความเข้มข้นของสารตั้งต้น ดูว่าเมื่อความเข้มข้นเปลี่ยนเป็นกี่เท่า  อัตราเร็วของปฏิกิริยาจะเปลี่ยนไปเป็นกี่เท่า แล้วจึงคำนวณหาตัวเลขยกกำลังออกมา
                 
ผลบวกของค่า n  และ m  เรียกว่า  อันดับของปฏิกิริยา  ( Order  of Reaction) เช่น ถ้า n = 0 และ m = 0  เรียกว่าปฏิกิริยาอันดับศูนย์  หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารตั้งต้น ไม่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา เขียนกฏอัตราได้เป็น
                                                      หรือ   
                 
ถ้า n = 0 และ m = 1   ผลบวกเป็น 1 เรียกว่าปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง  (First ์  Order  of Reaction) เขียนกฏอัตราได้เป็น
                                                      หรือ   

            ถ้า n = 1 และ m = 1   ผลบวกเป็น 2 เรียกว่าปฏิกิริยาอันดับสอง  ( Second  Order  of Reaction) เขียนกฏอัตราได้เป็น
                                                      หรือ   
               
ถ้า n = 2 และ m = 1   ผลบวกเป็น 3   เรียกว่าปฏิกิริยาอันดับสาม   (Third Order  of Reaction) เขียนกฏอัตราได้เป็น
                                                      หรือ   

 flower_wind_11.gif

 





 

                  

 

 


จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม  2548

จัดทำโดย ศน.อรอุมา  บวรศักดิ์
ศึกษานิเทศ ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต 2
Copyright(c) 2004 Mrs.Ornuma  Bowonsak. All right reserved