ความเข้มข้นของสารตั้งต้น
Homeผู้จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีพลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาเคมีกลไกของปฏิกิริยาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีกฏอัตราแบบทดสอบหลังเรียน

 

ธรรมชาติของสารตั้งต้น 
ความเข้มข้นของสารตั้งต้น 
พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น 
ตัวเร่งปฏิกิริยา 
ตัวหน่วงปฏิกิริยา 
อุณหภูมิ 
แบบฝึกปฏิบัติที่ 5 
เฉลยแบบฝึกปฏิบัติที่ 5 

 

anigreen11_next.gifความเข้มข้นของสารตั้งต้นanigreen11_back.gif 

 

                  ปฏิกิริยาเคมีโดยทั่วไป  อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมักขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่เข้าทำปฏิกิริยา ซึ่งสามารถอธิบายโดยใช้ทฤษฤีการชนกันว่า  เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้น  จำนวนอนุภาคของสารตั้งต้นที่เข้าทำปฏิกิริยาก็มีมากขึ้นด้วย  จึงทำให้อนุภาคของสารตั้งต้นมีโอกาสชนกันมากขึ้น และเมื่ออนุภาคที่เข้าชนกันมีพลังงานมากพอ ก็สามารถเกิดปฏิกิริยาขึ้นได้  แต่ถ้าความเข้มข้นของสารตั้งต้นลดลง อัตราการเกิดปฏิกิริยาก็จะลดลง   ดังรูป

                                             

                                                           รูปแสดงผลของความเข้มข้นต่อจำนวนการชนก้นของอนุภาค
                              (ก) โมเลกุล  A  กับโมเลกุล B  ชนกันได้  4  แบบ  
                              (ข)  เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ A  หรือ  B  เป็น 2 เท่า โมเลกุลจะชนกันได้ 8 แบบ
                              (ค)  เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของทั้ง A  และ B  เป็น 2 เท่า  โมเลกุลจะชนกันได้  16  แบบ

                    ในปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นมีสถานะเป็นก๊าช สามารถพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาได้ โดยการเพิ่มความดันของระบบ เนื่องจากเมื่อความดันของระบบสูงขึ้น ก็เป็นการเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้น จึงทำอนุภาคมีโอกาสชนกันมากขึ้น
                     ปฏิกิริยาที่มีสารตั้งต้นมากกว่าหนึ่งชนิด อัตราการเกิดปฏิกิริยาอาจขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารตั้งต้นทุกชนิดหรือชนิดใดชนิดหนึ่ง  หรือปฏิกิริยาบางชนิดอัตราการเกิดปฏิกิริยาไม่ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารชนิดใดเลย นั่นคือไม่ว่าสารตั้งต้นมากน้อยเพียงใด ก็จะไม่มีผลกระทบต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เข่น
                     ปฏิกิริยาการกำจัดแอลกอฮอล์ออกจากกระแสเลือดในตับ โดยปกติเมื่อมีแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือก ร่างกายจะต้องกำจ้ดออกทั้งในรูปแอลกอฮอล์โดยตรงและการสลายเป็นสารอื่น อัตราการสลายตัวของแอลกอฮอล์เป็นสารอื่นจะมีค่าคงที่ โดยไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณของแอลกออล์ในเลือดว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด

flower_wind_6.gif

 


จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม  2548

จัดทำโดย ศน.อรอุมา  บวรศักดิ์
ศึกษานิเทศ ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต 2
Copyright(c) 2004 Mrs.Ornuma  Bowonsak. All right reserved