ตัวเร่งปฏิกิริยา
Homeผู้จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีพลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาเคมีกลไกของปฏิกิริยาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีกฏอัตราแบบทดสอบหลังเรียน

 

ธรรมชาติของสารตั้งต้น 
ความเข้มข้นของสารตั้งต้น 
พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น 
ตัวเร่งปฏิกิริยา 
ตัวหน่วงปฏิกิริยา 
อุณหภูมิ 
แบบฝึกปฏิบัติที่ 5 
เฉลยแบบฝึกปฏิบัติที่ 5 

 

 anigreen11_next.gifตัวเร่งปฏิกิริยาanigreen11_back.gif

 

               วเร่งปฏิกิริยา  ( Catalyst)  คือ สารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาแล้ว ทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น หรือทำให้อัตรากการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น  โดยที่ตัวเร่งปฏิกิริยาอาจจะมีส่วนร่วมในการเกิดปฏิกิริยาด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา ตัวเร่งเหล่านี้จะมีต้องมีปริมาณเท่าเดิมและมีสมบัติเหมือนเดิม  การที่ตัวเร่งปฏิกิริยาสามารถเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาได้ เนื่องจากว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาช่วยลดพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาให้ต่ำลง  จึงทำให้มีโมเลกุลที่มีพลังงานสูงกว่าหรือเท่ากับพลังงานก่อกัมมันต์จำนวนมากขึ้น ปฏิกิริยาเคมีจึงเกิดเร็วขึ้น  แต่จะไม่ทำให้พลังงานของปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงไป  ดังรูป

 

                                                         รูปแสดงผลของตัวเร่งปฏิกิริยาต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี  
                    จากกราฟจะเห็นว่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาจะต่ำกว่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา แต่พลังงานของปฏิกิริยายังคงเท่าเดิม เนื่องจากตัวเร่งปฏิกิริยาเพียงแต่ทำให้พลังงานก่อกัมมันต์ลดลง ไม่ทำไให้พลังงานของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลง
                   
ในการเติมตัวเร่งปฏิกิริยาควรใช้เพียงเล็กน้อย เนื่องจากหากใช้มากเกินไป ตัวเร่งปฏิกิริยาอาจกลายเป็นสารตั้งต้นสารหนึ่งที่เข้าทำปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงไป
                   ปฏิกิริยาหนึ่งอาจใช้ตัวเร่งปฏิกิริยามากกว่าหนึ่งชนิดและตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดหนึ่ง อาจใช้เร่งปฏิกิริยาได้หลายชนิดเช่นเดียวกัน เช่น
                   -  การย่อยอาหารในร่างกายใช้เอนไซม์หลายชนิดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
                 -   ในกระบวนการเติมไฮดดรเจน แก่สารอินทรีย์ใช้นิกเกิลเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
                  -   ในกระบวนการแตกสลายไฮโดรคาร์บอนในการกลั่นน้ำมันใช้ซิลิคอนไดออกไซด์และอะลูมิเนียมออกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา


            flower_wind_8.gif      

 


จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม  2548

จัดทำโดย ศน.อรอุมา  บวรศักดิ์
ศึกษานิเทศ ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต 2
Copyright(c) 2004 Mrs.Ornuma  Bowonsak. All right reserved